คุณลักษณะของผู้สมัคร แบบฟอร์มคำขอ
สิทธิพิเศษของผู้ประกอบการ VRT คำแนะนำการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว
ผู้ประกอบการในระบบ VRT ต้องปฏิบัติอย่างไร คู่มือผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว
เอกสารประกอบในการยื่นขออนุมัติ    

 

 


การขอเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (VRT)

  • ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
     
  • เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีเงินทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
  •          - ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร
             - ไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท สำหรับผู้ประกอบการในเขตจังหวัดอื่น
     
  • มีความมั่นคงต่อเนื่องในการประกอบกิจการ และมีประวัติการเสียภาษีที่ดี
     
  • ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนข้างต้น สามารถยื่นคำร้อง ( คท.1 ) ได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ท้องที่ที่สถานประกอบการซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่พร้อม หรือ ยื่นผ่าน Internet http://vrt.rd.go.th/INETVRT/jsp/VRTI0010.jsp

 


    ผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติอย่างไร

         • จะได้รับแผ่นป้าย " VAT REFUND FOR TOURISTS " เพื่อแสดงสิทธิในการเป็นผู้ประกอบการ และให้แสดงไว้ ณ ที่เปิดเผยให้นักท่องเที่ยวเห็นได้ชัดเจน เป็นรายสถานประกอบการ

         • ขอรับแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) จากสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ซึ่งสถานประกอบการตั้งอยู่ เป็นรายสถานประกอบการ หรือ ยื่นผ่าน Internet http://vrt.rd.go.th/INETVRT/jsp/VRTI0010.jsp

         • เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยว ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

         • จัดทำใบกำกับภาษีจากการขายสินค้า และให้ระบุเลขที่หนังสือเดินทางของนักท่องเที่ยวลงในใบกำกับภาษีทุกฉบับ

         • กรณีนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าจากสถานประกอบการแห่งเดียวกัน ในวันเดียวกัน มีมูลค่ารวมตาม ใบกำกับภาษี ไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ให้จัดทำแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนัก ท่องเที่ยว (ภ.พ.10) และมอบให้นักท่องเที่ยวพร้อมกับใบกำกับภาษี ( คำแนะนำการจัดทำคำร้องฯ )

         • ทำรายงานการจัดทำคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว ( คท.9 ) และเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี

         • กรณีที่มีการเพิ่ม ลด ย้าย สถานประกอบการ เปลี่ยนชื่อผู้ประกอบการหรือสถานประกอบการ หรือไม่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการในระบบ VRT ให้แจ้งต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่สถานประกอบการซึ่งเป็นสำนักงาน ใหญ่ตั้งอยู่ ภายใน 7 วัน นับแต่มีการเปลี่ยนแปลง
     


    คำแนะนำการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) 

         • ขอดูหนังสือเดินทาง ( Passport ) จากนักท่องเที่ยวเพื่อบันทึกชื่อและเลขที่หนังสือเดินทางลงในใบกำกับภาษีให้ ตรงกับข้อมูลของนักท่องเที่ยวในแบบ ภ.พ.10 ( หากใบกำกับภาษีมีข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไข ให้ทำการยกเลิกใบกำกับภาษีที่ผิดพลาดแล้วออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ )

         • เมื่อนักท่องเที่ยวซื้อสินค้ามีมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ( ราคาสินค้ารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ) จากสถานประกอบการแห่งเดียวกัน ในวันเดียวกัน ให้จัดทำคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว ( ภ.พ.10 ) และมอบให้นักท่องเที่ยวพร้อมใบกำกับภาษี

         • กรณีการขายสินค้ามีส่วนลด ให้ระบุราคาที่หักส่วนลดแล้ว และเป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

         • หากเนื้อที่สำหรับกรอกรายการสินค้าในแบบ ภ.พ.10 มีไม่เพียงพอ ให้ใช้ใบต่อ ภ.พ.10

         • เลขที่ใบกำกับภาษีที่ระบุในแบบ ภ.พ.10 ต้องตรงกับเลขที่ของใบกำกับภาษีที่จัดทำขึ้น

         • ระบุรายการสินค้าให้ชัดเจนว่าเป็นสินค้าประเภทใด โดยไม่ลงรายการเป็นรหัสสินค้า

         • ไม่นำรายการสินค้าดังต่อไปนี้มาจัดทำหรือระบุในแบบ ภ.พ.10
              - สินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น อาหารสด ฯลฯ
              - สินค้าที่ต้องห้ามนำออกนอกราชอาณาจักร ( อาวุธปืน วัตถุระเบิดหรือสินค้าที่มีลักษณะเดียวกัน อัญมณีที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือรูปพรรณ )

         • กรณีนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าประเภท อัญมณีที่ประกอบเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา หรือปากกา ให้ประทับตราข้อความสีแดง ( ตามตัวอย่างด้านล่าง ) เพื่อให้นักท่องเที่ยวทราบว่าต้องนำสินค้าดังกล่าวที่มีราคาชิ้นละ 10,000 บาท ติดตัวไปแสดงต่อ เจ้าหน้าที่สรรพากรประจำท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ในการขอคืนภาษีด้วย



         • ลงลายมือชื่อผู้จัดทำคำร้องในแบบ ภ.พ.10

         • ลงวันที่การจัดทำคำร้องในแบบ ภ.พ.10 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ในใบกำกับภาษี

         • ให้นักท่องเที่ยวกรอกข้อความในแบบ ภ.พ.10 ( ในส่วนสำหรับนักท่องเที่ยว ) พร้อมลงลายมือชื่อ ผู้ขอคืนในวันที่ซื้อสินค้าโดยทันที และให้ตรวจลายมือชื่อผู้ขอคืนให้ตรงกับลายมือชื่อนักท่องเที่ยวในหนังสือ เดินทาง ( Passport )

     

     


ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่สามารถยื่นแบบขอคืนเงินได้ : .
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ท่าอากาศยานภูเก็ต | ท่าอากาศยานเชียงใหม่ | ท่าอากาศยานหาดใหญ่ |
ท่าอากาศยานอู่ตะเภา | ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ | ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
กลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว
กรมสรรพากร 90 ซอบพหลโยธิน 7 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : (662) 272-8195-8 โทรสาร : (662) 617-3559
Copyright 2009 © VAT Refund for Tourists Office. All rights reserved. Thailand Web Stat