คำถาม |
นักท่องเที่ยวกรอกข้อมูลในคำร้อง ภ.พ.10 ส่วนของนักท่องเที่ยวไม่ครบถ้วน เช่น
เลขที่หนังสือเดินทาง วัน เดือน ปี ที่เดินทางออกจากประเทศไทย เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถกรอกข้อมูลเพิ่มเติมในแบบ ภ.พ.10
ภายหลังที่ได้รับมอบแบบ ภ.พ.10 จากสถานประกอบการแล้ว ไดัหรือไม่
|
คำตอบ |
การจัดทำคำร้อง ภ.พ.10 จำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและส่วนของนักท่อง
เที่ยว ณ สถานประกอบการเนื่องจากผู้ประกอบการต้องจัดเก็บคู่ฉบับไว้ประกอบการลงรายงานด้วย |
  คำถาม |
สินค้าทุกชิ้นที่นักท่องเที่ยวซื้อต้องแสดงให้สรรพากรดูหรือไม่นอกเหนือจากสินค้า 5 ประเภท (LUXURY GOODS) |
คำตอบ |
สินค้าทุกชิ้นที่นักท่องเที่ยวซื้อต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร และถ้าสินค้าที่เป็นชิ้นเล็กราคาแพง 5 ประเภท(LUXURY GOODS)
คือ อัญมณี ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ แว่นตา นาฬิกาและปากกา ที่มีมูลค่าชิ้นละตั้งแต่ 10,000.- บาทขึ้นไป
นักท่องเที่ยวต้องแสดงสินค้านั้นต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรอีกครั้ง |
  คำถาม |
หากนักท่องเที่ยวนำสินค้าที่ซื้อไปนานแล้วมาขอคืนบริษัทฯ จะทราบได้อย่างไรว่านักท่องเที่ยวได้นำคำร้อง ภ.พ.10
ไปขอคืนที่ท่าอากาศยานแล้วหรือยัง |
คำตอบ |
กรณีนักท่องเที่ยวได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วคำร้อง ภ.พ.10 และต้นฉบับใบกำกับภาษีเจ้าหน้าที่สรรพากรที่ท่าอากาศยานฯ
จะเก็บไว้เป็นหลักฐาน |
  คำถาม |
บริษัทฯ มีหลายสาขา อยู่ในพื้นที่สรรพากรฯ เดียวกัน จะใช้แบบ ภ.พ.10 ร่วมกันได้หรือไม่ |
คำตอบ |
ไม่ได้ เพราะฐานข้อมูลการจ่ายคำร้อง ภ.พ.10 จะระบุเป็นสาขา ของแต่ละบริษัทฯ |
  คำถาม |
ถ้าเขียน ภ.พ.10 ผิดสามารถแก้ข้อความได้หรือไม่ |
คำตอบ |
สามารถขีดฆ่าข้อความที่ไม่ใช้หรือเขียนผิดบนคำร้อง ภ.พ.10 ได้ พร้อมเซ็นชี่อกำกับตรงที่มีการแก้ไขด้วย |
  คำถาม |
ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าเสร็จ ได้มอบให้คนอื่นมาจัดทำคำร้องภ.พ.10 แทน รวมถึงเซ็นต์ชื่อเอกสารในคำร้อง
ภ.พ.10 แทนด้วย ทำได้หรือไม่
|
คำตอบ |
ไม่ได้ เพราะชื่อผู้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องตรงกับชื่อผู้ซื้อ เลขที่หนังสือเดินทางในใบกำกับภาษี
และการลงลายมือชื่อต้องถูกต้องตรงกับลายมือชื่อในหนังสือเดินทาง(ถ้ามี) |
  คำถาม |
อยากให้ช่วยอธิบายวีธีคิด VAT ด้วยว่าทำไมต้องคูณด้วย 7 หารด้วย 107 เพราะอธิบายแล้วลูกค้าไม่เข้าใจ |
คำตอบ |
ในการจัดทำคำร้อง ภ.พ.10 ช่องมูลค่าสินค้าจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้ด้วย
ซึ่งในใบกำกับภาษีจะระบุว่า "ภาษีรวมใน"(Vat Included) ต้องการทราบจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างเดียวว่ามีจำนวนเท่าใด
จึงต้องคำนวนโดยนำมูลค่าสินค้าคูณด้วย 7 หารด้วย 107 |
  คำถาม |
จำเป็นต้องระบุเลขที่หนังสือเดินทางลงในใบกำกับภาษีหรือไม่ |
คำตอบ |
จำเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะใบกำกับภาษีเต็มรูป หรือใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามที่กฎหมายกำหนด |
  คำถาม |
ต้องพิมพ์เลขที่หนังสือเดินทาง ลงในใบกำกับภาษีอย่างย่อหรือเปล่า |
คำตอบ |
จะพิมพ์หรือเขียนก็ได้ |
  คำถาม |
นักท่องเที่ยวไม่มีหนังสือเดินทางและ ID CARD ควรจะทำอย่างไร
|
คำตอบ |
หากเป็นไปได้ให้นักท่องเที่ยวโทรสอบถามเลขที่หนังสือเดินทางกับทางโรงแรม |
  คำถาม |
กรณีขอแจ้งเลิกเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าในระบบ VRT สำนักงานใหญ่ต้องนำคำร้อง ภ.พ.10
ที่เหลืออยู่ที่บริษัทฯ คืนกรมสรรพากรได้อย่างไร |
คำตอบ |
ส่งคืนที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ด้วยแบบ คท.8
โดยให้แนบสำเนาแบบ คท.9 ฉบับสุดท้าย, บัตร VRT CARD (ถ้ามี) แล้วปลดป้าย "VAT Refund for Tourists" |
  คำถาม |
อยากทราบว่าทำไมถึงขอคืนภาษีผ่านบัตรเครดิตประเภท AMEX ไม่ได้ |
คำตอบ |
บัตรเครดิต AMEX ไม่มีการตกลงร่วมกันกับกรมสรรพากร |
  คำถาม |
นักท่องเที่ยวขอคืนภาษีไม่เกิน 30,000.-บาท หรือไม่ ประสงค์ขอคืนเป็นดราฟต์/เครดิต จำเป็นต้องกรอกชื่อและที่อยู่หรือไม่ |
คำตอบ |
การกรอกข้อมูลในคำร้อง ภ.พ.10 ส่วนของนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องกรอกชื่อ ที่อยู่ให้ครบถ้วนทุกฉบับ
เพราะนักท่องเที่ยวบางรายอาจไม่สามารถคืนเป็นเงินสดได้แล้วขอคืนภาษีไม่เกิน 30,000.- บาท เนื่องจากพบประเด็นปัญหาที่ต้องตรวจก่อนคืน
ต้องขอคืนภาษีเป็นเครดิต/ดราฟต์ นักท่องเที่ยวจึงต้องระบุที่อยู่ให้ชัดเจน เพื่อการแจ้งคืนภาษีฯ |
  คำถาม |
นักท่องเที่ยวมักสอบถามว่า เขาซื้อเสื้อผ้าและใส่อยู่จะตรวจเช็คอย่างไร |
คำตอบ |
ถ้านักท่องเที่ยวสามารถแสดงสินค้าและพิสูจน์ได้ว่าเสื้อที่ใส่เป็นสินค้ารายการเดียวกับที่ระบุในคำร้อง ภ.พ.10
และใบกำกับภาษี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศุลกากรในการตรวจ |
  คำถาม |
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทำงานในประเทศไทย เมื่อซื้อสินค้ากลับไปต่างประเทศ จะขอคืนภาษีได้หรือไม่ |
คำตอบ |
นักท่องเที่ยวที่มีสิทธิขอคืนภาษีฯ ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
ที่กฏหมายกำหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (ฉบับที่ 91) |